sample image lg

ประวัติความเป็นมา

  ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นบริการรูปแบบใหม่ของสำนักหอสมุด ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

  ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร  เป็นศูนย์บริการความรู้ในสาขาวิชาเกษตรและสาขาที่เกี่ยวข้อง   โดยขยายการให้บริการสารสนเทศด้านการเกษตรจากฐานความรู้ที่ สำนักหอสมุดได้พัฒนาและสั่งสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในนามศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ และศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ โดยมีเครือข่ายความร่วมมือในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ในฐานะของศูนย์ประสานงานสารนิเทศ สาขาเกษตรศาสตร์ และศูนย์เครือข่ายสารสนเทศทางการเกษตรนานาชาติ (AGRIS) ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ

  ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร ได้นำแนวคิดในการจัดการความรู้ ร่วมกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการและการให้บริการสารสนเทศด้านการเกษตร เพื่อสนับสนุนการเรียน การสอน การวิจัย และการให้บริการวิชาการแก่สังคม

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และเฉลิมพระชนมพรรษา 80 ชันษา

  2. เพื่อพัฒนาศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรของผู้ใช้ทุกกลุ่มทั้งอาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา ผู้ประกอบการ ตลอดจนเกษตรกรและผู้ สนใจทั่วไป

  3. เพื่อเป็นศูนย์รวมและเป็นศูนย์บริการหนังสือและสื่อความรู้ด้านการเกษตรของประเทศไทย

  4. เพิ่มขีดความสามารถในการจัดการความรู้ด้านการเกษตร เพื่อสร้างความเป็นเลิศในการวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Research University)

  5. ขยายศักยภาพของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการเป็นศูนย์กลางความรู้ด้านการเกษตรในระดับชาติ และขยายเครือข่ายความร่วมมือในระดับนานาชาติ

  6. เพื่อเป็นพื้นที่นำร่องในการทดลองประยุกต์ใช้แนวคิดแบบใหม่ๆในการให้บริการ เช่น การประยุกต์ใช้แนวคิดด้านการจัดการความรู้และการบริหารจัดการ สารสนเทศ ผนวกกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

  7. เพื่อเป็นหน่วยบริการต้นแบบ ในการทดลองใช้เทคโนโลยีและระบบสารสนเทศใหม่ๆ เช่นระบบห้องสมุดแบบเปิดเผยรหัส และระบบห้องสมุดดิจิตอล

การบริการ

  1. บริการหนังสือและสื่อความรู้ด้านการเกษตร

  2. บริการสืบค้นสารสนเทศด้านการเกษตร

  3. บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าด้านการเกษตร

  4. บริการพัฒนาฐานข้อมูลเฉพาะสาขาด้านการเกษตร

  5. บริการฝึกอบรม การสืบค้นสารสนเทศ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการให้บริการสารสนเทศด้านการเกษตร

  6. บริการสำเนาเอกสารฉบับเต็มที่ผู้ใช้สืบค้นได้จากฐานข้อมูลที่อยู่ในความรับผิดชอบ

  7. บริการจัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างผู้รู้และผู้สนใจ ด้านการเกษตร

  8. จัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการใช้สารสนเทศและส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเกษตร

  9. ให้บริการห้องศึกษาเดี่ยวและห้องศึกษากลุ่มแก่นิสิตและบุคลากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์